วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สถานที่ท่องเที่ยว อุดรธานี 2

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขา ภูพานครอบคลุมพื้นที่ ๓,๔๓๐ ไร่ใน
เขตบ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ อยู่ ห่างจากตัวจังหวัดระยะทางประมาณ ๖๗ กิโลเมตร
ตามเส้น ทางหมายเลข๒ (อุดรธานี-หนองคาย) บริเวณหลัก กิโลเมตรที่ ๑๓ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้า ทาง
หลวงหมาย เลข ๒๐๒๑ ไปทางอำเภอบ้านผือระยะทางประมาณ๔๒ กิโลเมตร และตรงไปตามเส้น
ทางหมายเลข๒๓๔๘ อีกประมาณ ๑๒ กิโลเมตร มีแยกขวาเป็นทางเข้าไป ประมาณ ๒ กิโลเมตร
ภายในบริเวณอุทยานทางด้านขวามือ เป็นที่ตั้งข
องศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มี สถานที่ ท่องเที่ยว
ที่น่าสนใจ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง ตั้งอยู่ที่บ้าน เชียง ตำบลบ้านเชียง แบ่งเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 ตั้งอยู่ทางด้านขวาของทางเข้าอยู่ในบริเวณวัดโพธิ์ศรี ในเป็นพิพิธภัณฑ์เปิด
ที่เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งแรก ใน-ประเทศไทย เป็นนิทรรศการถาวร ซึ่งแสดงขั้นตอน
การขุดค้นทางโบราณคดีที่ ยังคงลักษณะของศิลปวัตถุที่พบตามชั้น- ดิน เพื่อให้ผู้เข้าชมได้
ศึกษาถึงการขุดค้นทางโบราณคดี และโบราณวัตถุซึ่งส่วนใหญ่ เป็นภาชนะเผาที่ฝัง
รวมกับศพ ส่วนที่ 2 ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของทางเข้า เป็นอาคารที่ จัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราว
และวัฒนธรรมของบ้านเชียงในอดีต ตลอดจนเครื่องมือ เครื่องใช้ที่ แสดงถึงเทคโนโลยี
ในสมัยโบราณ รวมทั้งโบราณวัตถุและ นิทรรศการบ้านเชียงที่เคยจัดแสดง ณ ประเทศ
สหรัฐอเมริกา เปิดให้เข้าชมทุกวันเว้นวันจันทร์ ตั้ง แต่เวลา 09.00-16.00 น.
ค่าเข้าชมคนละ5 บาท

พระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่บริเวณแยกทางด้านซ้าย มือก่อนถึงที่ทำการอุทยาน
ในปัจจุบันเป็นที่ ตั้งของสำนักสงฆ์ คำว่า "บัวบก" เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง
ที่เกิดตามป่ามี หัวและใบคล้ายใบบัว ซึ่งชาวบ้านทั่วไป เรียกว่า ผักหนอก
บัวบกนี้คงจะมีอยู่มากในบริเวณที่พบรอยพระพุทธบาทจึงเรียกรอย พระพุทธบาทนี้ว่า
"พระพุทธบาทบัวบก"หรือคำว่าบัวบกอาจจะมาจากคำว่า บ่ บก ซึ่งหมายถึง
ไม่แห้งแล้ง รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ลง ไปในพื้นหิน
ยาว ๑.๙๓ เมตร กว้าง๘๐ เซนติเมตร เดิมมีการก่อมณฑปครอบรอยพระพุทธ บาทไว้ต่อ
มาประมาณปี พ.ศ. ๒๔๖๕ พระอาจารย์ศรีทัตย์ สุวรรณมาโจ ได้รื้อมณฑปเก่า
ออก แล้วสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่และยังสร้างรอยพระพุทธบาทจำลอง
วางทับรอยพระพุทธ บาทเดิมไว้ ภายในพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรม สารีริกธาตุ
ตัวองค์เจดีย์เป็นทรงบัวเหลี่ยมคล้ายองค์ พระธาตุพนมทุกๆ ปีในช่วง
เดือน ๓ ขึ้น ๑๓ -๑๕ ค่ำ จะมีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบก ประจำปี


วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สถานที่ท่องเที่ยว อุดรธานี 1

ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง เป็นหนอง น้ำขนาดใหญ่ มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งเมืองอุดรธานี เดิมเรียกว่า
หนองนาเกลือ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัว เมืองเพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมผู้ทรงก่อตั้งเมืองอุดรธานี ในปี พ.ศ . 2530 เทศบาลเมืองอุดรธานี
ได้ทำการปรับปรุงหนองประจักษ์ขึ้นใหม่เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 9 เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนม-พรรษาครบ 5 รอบโดยบริเวณตัวเกาะกลางน้ำ
ได้จัดทำสวนหย่อม ปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิดสวยงามมากทำ สะพานเชื่อมระหว่างเกาะ
มีน้ำพุ หอนาฬิกา และสวน เด็กเล่นแต่ละวันจะมีประชาชนไปพัก ผ่อนและออกกำลังกายเป็นจำนวน
มากทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จะมีพระตำหนักหนองประจักษ์ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน

ตั้งอยู่กลางเมืองอุดรธานี พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์ เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
เป็นพระราชโอรสในพระบาท สมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดา
สังวาลย์ประสูติเมื่อปีพุทธศักราช 2399 ทรง ดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ
เรียก ว่า มณฑลอุดรในสมัยต่อมา ระหว่าง ร.ศ . 112-118
ทรงเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งเมืองอุดรขึ้นเมื่อ ร.ศ 112 ทรงจัดวาง ระเบียบ ราชการ
ปกครองบ้านเมืองและรับราชการ ในหน้าที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่งอำนวย ประโยชน์สุข
แก่ราษฎรนานับประการ อนุสาวรีย์พระองค์ท่าน จังนับ เป็นเกียรติ ประ วัติสูงสุด
ของชาวจังหวัดอุดรธานี ตราบเท่าทุกวันนี้

ศาลหลักเมืองจังหวัดอุดรธานี

ประวัติ เมืองอุดรธานี

ประวัติเมือง

จังหวัดอุดรธานีมีตราประจำจังหวัดเป็นรูป ท้าวเวสสุวัณ (ท้าวกุเวร) ซึ่งเป็นท้าวสาวจาตุมหาราช หรือหัวหน้าเทพยดาผู้ปกปักรักษาโลกด้านทิศอุดร หรือทิศเหนือ และมี ต้นทองกาว" หรือเรียกตาม ภาษาถิ่นว่า "ต้นจาน" เป็นต้นไม้ประจำจังหวัด ในด้านข้อมูลประวัติการก่อตั้งเมือง มีปรากฎขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ซึ่งนับว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ครั้งหนึ่งของสยามเลยทีเดียวในครั้งนั้นต้องเผชิญกับภัยคุกคามการล่าอาณานิคม ของสองประเทศมหาอำนาจ คือฝรั่งเศสและอังกฤษ ซึ่งมีนโยบายล่าดินแดนแถบเอเชีย เป็นอาณานิคม ฝรั่งเศสนั้นผนวกเอาดินแดนประเทศเวียดนามและเขมร เป็นของตนส่วนอังกฤษ ก็ยึดเอาประเทศด้วยพระปรีชาญาณ รวมทั้งได้ทรงวางระเบียบแบบแผน ในการปกครองหัวเมืองชายแดนเพื่อเผชิญกับปัญหาน ี้จึงทรงแต่งตั้งบุคคลที่มี
ความรู้ความสามารถที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยไปปฏิบัติราชการประจำต่างหัวเมือง และหัวเมืองหน้าดานซึ่งถูกล่วงล้ำอธิปไตยได้โดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอีสาน

ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๓๔ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระเจ้าน้องยาเธอ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงใหญ่ (ซึ่งต่อมาภายหลัง ทรงสถาปนา พระยศเลื่อนเป็น กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม) พร้อมด้วยข้าราชการทหารตั้งอยู่ ณ เมืองหนองคาย เรียกว่า ข้าหลวงหัวเมืองลาวพวน รับผิดชอบเมืองใหญ่ ๑๓ เมือง เมืองขึ้น ๓๖ เมือง ซึ่งประกอบด้วย บางเมือง ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงด้วย ในขณะนั้น ฝรั่งเศสต้องการจะแบ่งดินแดนที่เคยเป็นของเวียดนาม ก็ต้องตกเป็นของฝรั่งเศสด้วย ทั้งได้ส่งเรือรบเข้าปิดล้อมอ่าวไทย บีบบังคับให้สยามลงนามในสนธิสัญญายอมรับสิทธิของฝรั่งเศสเหนือดินแดนฝั่ง ซ้ายแม่น้ำโขงและให้ถอยกองกำลังทหารห่างจากชายแดนในรัศมี ๒๕ กิโลเมตร ภายในระยะเวลา ๑ เดือน

ด้วยเหตุนี้เอง พระเจ้าน้องยาเธอ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวพวน จึงต้องย้ายที่บัญชาการมณฑลลาวพวนที่ตั้งอยู่ ณ เมืองหนองคาย พระองค์ได้ทรงเคลื่อนกองกำลังทหารและข้าราชบริพารลงมาทางใต้จนถึง"บ้านเดื่อหมากแข้ง" ในวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๖ ที่นี่มีชัยภูมิเหมาะสมอุดมสมบูรณ์ด้วยแหล่งน้ำ จึงทรงตัดสินพระทัยสร้างแปงเมือง ณ ที่นี้ และได้ทำหนังสือกราบทูลไปยังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบ ซึ่งพระองค์ ทรงเห็นชอบที่ตั้งกองบัญชาการมณฑลลาวพวนแห่งใหม่นี้

พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงวางแผนสร้างบ้านแปลงเมือง อย่างจริงจัง ทรงวางผังเมืองและบัญชาการการก่อสร้างเมืองด้วยพระองค์เองได้ทรงสร้างศาลาว่าการเมือง ค่ายทหารและสถานที่ราชการต่างส่วนวังที่ประทับได้ทรงสร้างใกล้กับต้นโพธิ์ใหญ่และทรงสร้างวัดขึ้นตรงข้าม กับบริเวณวังที่ประทับ ซึ่งมีโบราณสถานเก่าแก่อยู่เดิมแล้ว เพื่อเป็นพระอารามหลวงคู่บ้านคู่เมือง ทรงประทาน นามวัดแห่งนี้ว่า "วัดมัชฌิมาวาส" เพื่อเป็นศูนย์กลางและศูนย์รวมจิตใจของชาวเมือง นับแต่นั้น บ้านหมากแข้ง จึงมีฐานะเป็นกองบัฐชาการซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาการตามลำดับ ดังนี้

เมื่อพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ได้ทรงจัดราชการบ้านเมือง มณฑลลาวพวน และวางระเบียบการปกครองหัวเมืองชายแดนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็เสด็จกลับกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.๒๔๔๒ ไปดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมและผู้บังคับบัญชาการทหารเรือ พร้อมกับ ทรงเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม" โดยมีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ เป็นข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวพวนองค์ต่อมา (พ.ศ.๒๔๔๒ - พ.ศ.๒๔๔๙)
ปี พ.ศ. ๒๔๔๒ เปลี่ยนชื่อมณฑลลาวพวน เป็นมณฑลฝ่ายเหนือ มีเมืองต่าง ๆ ในปกครอง รวม ๑๒ เมือง ปี พ.ศ.๒๔๔๓ เปลี่ยนชื่อมณฑลฝ่ายเหนือเป็นมณฑลอุดร แบ่งการปกครองเป็น ๕ บริเวณ คือ บริเวณหมากแข้ง บริเวณพาชี บริเวณธาตุพนม บริเวณสกลนคร และบริเวณน้ำเหือง ปี พ.ศ. ๒๔๕๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมือง กมุทธาไสย เมืองกุมภวาปี เมืองหนองหาร อำเภอบ้านหมากแข้ง ตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า "เมืองอุดรธานี" และเป็นที่ตั้งที่ว่าการมณฑลอุดรอีกด้วย

วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๐ พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร พร้อมกับกรมการเมือง ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนจัดพิธีตั้งเมืองขึ้น ณ สนามกลางเมือง มีการอ่านประกาศตั้งเมืองที่ปะรำพิธีและงานเฉลิมฉลอง รวม ๓ วัน ปี พ.ศ.๒๔๖๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รวมมณฑลอุดร
มณฑลอุบลราชธานี และมณฑลร้อยเอ็ด เป็นภาค เรียกว่า ภาคอีสาน ตั้งที่บัญชาการที่เมืองอุดรธานี และโปรดให้ยุบเลิก ในปี พ.ศ.๒๔๖๘

ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นระบอบประชาธิปไตย ในครั้งนี้ ได้ยกเลิกมณฑลต่าง ๆ มณฑลอุดรจึงถูกยกเลิกคงฐานะ
เป็นจังหวัดอุดรธานี จนกระทั่งปัจจุบันนี้ อนึ่ง ในวันที่ ๑๘ มกราคมของทุกปี จังหวัดอุดรธานีได้กำหนดจัดงานวันที่ระลึก คล้ายวันจัดตั้งเมืองอุดรธานี" โดยถือเป็นวันร่วมกันบำเพ็ญกุศลและเฉลิมพระเกียรติพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ทรงสร้างเมืองอุดมธานี อีกด้วย